วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ระบบ Wi-Fi

ระบบ Wi-Fi


Wi-Fi คืออะไร
Wi-Fi ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สาย ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมันผ่านตามมาตรฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา WIFI certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา WIFI certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับ อุปกรณ์ Lan ไร้สาย ไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันติดปาก เช่น Notebook ตัวนี้ หรือ PDA ตัวนี้มันมี WiFi ด้วยหละ! นั่นก็หมายความว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบ Network แบบไร้สายได้ โดยอยู่ภายใต้มาตรฐานเทคโนโลยี 802.11
Wi-Fi Wireless เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่อง Scan Barecode หรือ เครื่องยิงบาร์โค้ด ที่มีเครือข่ายไรสายเฉพาะของตัวเอง โดยเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก จะต่อกับ RF-Node เพื่อทำการ รับ- ส่ง สัญญาณกับเครื่อง Scaner หลาย ๆ ตัว โดยมากมักจะมีคีย์บอร์ด และ จอแสดงผล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูล และ Feedback ได้ทันที รวมทั้งอาจจะสามารถรับ Application บางอย่าง ที่เครื่อง Scaner ได้

ประโยชน์ของระบบ WiFi
Wi-Fi เป็นการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี 802.11 ซึ่งมีข้อดีคือ เป็นการทำงานของเครื่องที่ไม่ต้องมีสายไฟ ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น ไม่เกะกะ และยังสามารถส่งข้อมูลแบบไร้สายได้รวดเร็ว ดังนั้นมันจึงเหมาะที่จะนำมาสร้างเครือข่ายไร้สาย สำหรับการเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าหากัน หรืออาจจะเอา PDA มาเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ก็ยังได้หาก PDA รุ่นนั้นๆมัน สนับสนุน Wi-Fi ข้อดีอีกหลายข้อของ เทคโนโลยี 802.11 ก็คือ การทำงานสามารถสื่อสารได้ไกล เป็นที่นิยมมากกว่า และมันคือระบบที่มีการทำงานคล้ายกับระบบ Network แบบมีสายมากที่สุด โดยเฉพาะ เทคโนโลยี 802.11b ซึ่งมีความเร็ว 11 Mb/s อันนี้จะนิยมมากที่สุด แต่ในอนาคตก็คงจะมีการพัฒนาให้มันส่งข้อมูลได้เร็วมากขึ้นไปอีก

ช่วงสองปีที่ผ่านมานี้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งได้ถูกกล่าวถึงกันมากทีเดียว นั่นก็คือ
Wireless Lan หรือ ระบบ Network ไร้สายนั่นเอง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11b หรือที่มักเรียกระบบไร้สายนี้ว่า Wi-Fiและมาตราฐาน IEEE 802.11เทคโนโลยีไร้สาย WLAN นี้มีข้อกำหนดมาตราฐานในการส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1,2,5 หรือ 11 MB/s ในคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz

การสื่อสารชนิดนี้กำลังได้รับความนิยมสูงมากทีเดียวทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยเอง ซึ่งคาดว่าภายในปี 2005 นี้จะมีอัตราการเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมถึง 6 เท่าตัว และจำนวนสถานที่บริการที่ให้เชื่อมต่อ Wi-Fiแบบสาธารณะก็จะมีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวทีเดียว ในบ้านเราเองสถานที่สำคัญต่างๆก็ได้เริ่มมีบริการ Internet ไร้สายด้วย WIFI กันบ้างแล้วเช่นตามร้านกาแฟ ห้างสรรพสินค้า และสถานที่ราชการบางแห่ง เรื่องของเทคโนโลยีตัวนี้ผมว่ามันน่าจับตามองมากทีเดียว เพราะเป็นกระแสที่ค่อนข้างมาแรงมากตั้งแต่เมื่อต้นปีจนถึงปัจจุบัน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานนี้ นับวันก็จะมีราคาถูกลงเรื่อยๆ และมีการพัฒนาลูกเล่นต่างๆให้ดีขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย

สำหรับการใช้งานระบบเครือข่าย WI-FI นี้เราก็สามารถสร้างเองได้ไม่ยากนัก ทั้งในบ้าน หรือใน Office ซึ่งวันนี้ผมขอนำตัวอย่างระบบ Wireless Lan แบบง่ายๆที่ผมทำขึ้นเองนำมาเล่าสู่กันฟังนะครับว่ามันทำงานอย่างไร และมีการติดตั้งอย่างไร ซึ่งวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบเครือข่ายไร้สายขนาดเล็กของผมเองนั้น ก็เนื่องจากต้องการการทำงานที่มีอิสระคล่องตัวมากขึ้น และไม่ต้องการเจาะกำแพงเพื่อเดินสาย Lan ในการเชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเข้าด้วยกัน และยังต้องการใช้เครื่อง Palm รุ่น Tungsten C ในการทำงานร่วมกับระบบเครือข่ายที่วางเอาไว้ในการ โอนถ่ายข้อมูล หรือการใช้ Internet เพื่อรับส่ง email ได้อย่างคล่องตัว เพราะว่าเราสามารถพกพาเครื่อง Tungsten C เดินไปไหนมาไหนภายใน Office ก็ได้ และเมื่อต้องการเช็ค email ก็สามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
1.คอมพิวเตอร์ PC ลง Windows XP ต่อเข้ากับ Modem เพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่ Internet
2.
คอมพิวเตอร์ Notebook ลง Windows XP แชร์ Drive เอาไว้สำหรับการทำงานร่วมกับ PC เครื่องหลัก และต้องการใช้ Internet ร่วมกับเครื่องหลักด้วย
3.
Palm Tungsten C

อุปกรณ์ที่จะต้องซื้อเพิ่มสำหรับการต่อ Wireless Lan

1. Access Point
จากระบบตัวอย่างนี้ผมใช้ ของ Linksys ราคาเครื่องละประมาณ 7000 บาท
2.
Wireless Network PC Card ในระบบตัวอย่างนี้ผมใช้ของ Linksys ราคาประมาณ 2000 กว่าบาท

3.สาย Lan เชื่อมระหว่าง PC ไปยัง Access Point ราคาเส้นละ 50 บาท
4.
Lan Card แบบ PCI ของ SMC สำหรับติดตั้งใน PC ราคาประมาณ 300 บาท

สำหรับการติดตั้งของ AP ( Access Point ) ของยี่ห้อ Linksys จะทำได้ค่อนข้างง่ายมาก เมื่อเสียบทุกอย่างเข้าที่แล้วก็ทำการเริ่ม Install โปรแกรม Wizard เพื่อทำการ Set up ระบบโดยเราแทบจะไม่ต้องมีความรู้เรื่อง Network อะไรมากมาย โปรแกรมดังกล่าวนีจะทำการ set up ให้เกือบหมด

เรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล
ตรงส่วนขั้นตอนการ set up จะเห็นว่ามีอยู่หนึ่งขั้นตอนที่จะให้เปิดค่า WEP ซึ่ง WEP ก็ย่อมาจาก Wired Equivalent Privacy นั่นเอง ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสและทำงานร่วมกับ Secret Key ซึ่งใช้ในเวลาส่งข้อมูลออกไป และทางฝั่งเครื่องรับก็จะต้องมีกุญแจ WEP ด้วยเช่นกันเพื่อใช้ในการถอดรหัสของข้อมูลที่ได้รับ

เมื่อทำการติดตั้งด้วยโปรแกรม วิซาร์ด ของ
Linksys แล้วขั้นตอนต่อมาก็ต้องมีการตรวจสอบอีกเล็กน้อย โดยให้เราไปเรียก Browser IE ขึ้นมา ตรงส่วนช่อง URL address ก็ให้พิมพ์ เบอร์ IP เครื่องลงไป เช่น
http://198.168.0.7 แล้วก็จะปรากฎหน้าจอ POP up เพื่อให้ใส่ User name และ Password ซึ่งเป็นอันเดียวกันกับที่ Set up ไว้ในตอนแรก

ระบบการทำงาน 3G

ยุค 1G เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมอดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่ ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณเพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้ ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือเพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว
ยุค 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้ และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WCDMA นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น 3G เป็นแบบ CDMA เช่นกัน แต่เรียกว่า CDMA2000 กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก IS95 ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง (HDR-High Data Rate) การพัฒนาในยุคที่สามนี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 1G และ 2G โดยเรียกรูปแบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า GPRS-General Packet Radio Service ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่ 9.06, 13.4, 15.6 และ 21.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยในการพัฒนาต่อจาก GPRS ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า EDGE-Enhanced Data Rate for GSM Evolution ปัญหาสำคัญของระบบไร้สาย การที่พัฒนาการของการสื่อสารไร้สายและระบบติดตามตัวยังไปได้ไม่ทันใจ ทั้งนี้เพราะมีอุปสรรคและปัญหาที่สำคัญ ซึ่งเป็นปัญหาหลักสี่ประการคือ 1. ระบบไร้สายใช้อัตราการรับส่งข้อมูลได้ต่ำ 2. ค่าบริการค่อนข้างแพง 3. โมเด็มรับส่งแบบคลื่นวิทยุ ใช้กำลังงานไฟฟ้าสูง 4. ระบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่ใช้กับระบบติดตามตัวยังไม่ดี ไม่เหมาะกับการใช้งานขณะเคลื่อนที่ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ระบบไร้สายในยุค 3G ต้องแก้ไขให้ได้ให้หมด โดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องเพิ่มอัตราการรับส่งข้อมูลให้ได้มาก เพื่อจะส่งรูปภาพหรือภาพเคลื่อนไหวได้ ต้องมีอัตราค่าใช้บริการที่ถูกลง และเครื่องที่ใช้ต้องใช้กำลังงานต่ำเพื่อจะใช้ได้นาน ส่วนระบบการเชื่อมต่อในปัจจุบันก็ก้าวมาในรูปแบบ WAP - Wireless Application Protocol หรือที่เรียก ย่อ ๆ ว่า WAP รูปแบบของการเอาชนะปัญหาสี่ข้อเป็นเรื่องที่ท้าทายและจะต้องทำให้ได้ ระบบ 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ได้ตั้งเป้าหมายไว้เรียบร้อยแล้ว ในระบบ 2G ใช้เทคโนโลยีการเข้าสู่ช่องสื่อสารทั้งแบบ TDMA คือ แบ่งช่องเวลา และ CDMA คือ การเข้ารหัส แล้วส่งในช่องสื่อสารที่มีแถบกว้างเต็มช่อง ซึ่งแบบ CDMA ก็เหมือนกับการรับส่งเป็นแพ็กเก็ต โดยมีแอดเดรสประจำในแพ็กเก็ตนั่นเอง ระบบ 3G เป็นระบบที่ใช้ WCDMA ซึ่งก็เน้นการรับส่งเป็นแพ็กเก็ตนั่นเอง ระบบ WCDMA จึงเน้นช่องสื่อสารขนาดใหญ่ที่แบ่งการใช้งานโดยการเข้ารหัสแล้วส่งเป็นแพ็กเก็ต เพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด การหาเส้นทางและการเดินทางของแพ็กเก็ตข้อมูล จึงต้องอาศัยสวิตชิ่ง และระบบ IP แพ็กเก็ตจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญที่จะรวมเครือข่ายต่าง ๆ ให้เป็นเครือข่ายเดียว (Unity Communication) จากข้อมูลพอสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้ -ยุค 1G ยังมีปัญหาเรื่องช่องสัญญาณและอุปกรณ์ที่ใช้จึงมีขนาดใหญ่ ( ดูได้จากตัวโทรศัพ ) และยังเป็นการส่งข้อมูลได้เฉพาะ เสียง ตัวอักษร -ยุค 2G มีสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างจาก 1G โดยสิ้นเชิงที่นอกเหนือไปจากการส่งข้อมุลตัวอักษร และเสียง สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ GPRS และการรองรับมัลติมีเดี่ย บนช่องทางในระบบสื่อสารแบบไร้สาย -ยุค 3G สิ่งที่แตกต่างจาก 2G เห็นได้หลักๆ คือ ความเร็วในการส่งข้อมูล ทำให้สิ่งที่ตามมาก็คือ ทำให้สามารถใช้ VDO Call ได้ อันเนื่องมาจากความเร็วในการส่งสัญญาณ พอจะสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้ GPRS=General Packet Radio Services 1G=First Generation 2G=Second Generation 3G=Third Generation EDGE=Enhanced Data Rates for GSM Evolution/Enhanced Data Rates for Global Evolution CDMA=Code Divison multiple Accees WCDMA=Wideband Code Divison multiple Accees UMTS=Universal Mobile Telecommunications System
กระเทาะเปลือก 3G Third Generation

การล็อบบี้รวมไปถึงการขอซื้อความถี่สัญญาณวิทยุจาก FCC (Federal Communications Commission) และกลุ่มสมาพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหลายทั่วโลก ต้นปีที่ผ่านมา บริษัทโทรคมนาคมในอังกฤษ 5 บริษัทจ่ายเงินให้กับรัฐบาลสูงสุดถึง 22 พันล้านปอนด์ เพื่อขอจดลิขสิทธิ์ใช้ช่องช่องสัญญาณความถี่สำหรับเครือข่าย 3G ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาสมาพันธ์ FCC กำลังศึกษาที่จะปันคลื่นความถี่ที่เหมาะสม ซึ่งในอีกความหมายหนึ่งคือคุณจะต้องเอาเงินก้อนโตมากองเพื่อแลกมันไปยังมีบางคนไม่เชื่อว่าการเปลี่ยนเข้าสู่ยุค 3G เป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นเราจึงยังเห็นหลายๆบริษัทมุ่งหน้าเดินดุ่มๆไปยังสถานี 2.5G ที่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลแบบไร้สายได้รวดเร็ว แสดงผลข้อมูลแบบมัลติมีเดียความเร็วสูงโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มหรือขยายคลื่นความถี่เดิม ถูกกว่า ง่ายกว่า แต่ความเป็นจริงแล้วความเร็วที่ว่าเจ๋งและสูงสุดเท่าที่ 2.5G ยังห่างไม่ใกล้เคียงกับตัวเลข 2Mbps ของเครือข่าย 3G นี้ได้เลยในแถบเอเซีย ญี่ปุ่นเริ่มเตรียมการตั้งแต่ปี 1996 เมื่อ NTT DoCoMo วางรากฐานของโครงสร้างระบบ i-mode ซึ่งเป็นระบบบริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ มีโครงสร้างจัดอยู่ในระดับน้องๆของ 3G ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จะส่งเมล์ รับเมล์ เล่นเกม ท่องอินเทอร์เน็ต จองตั๋วหนัง และอื่นๆอีกมากมายได้ทุกทีที่ต้องการ และยังเป็นเครือข่ายของโลกใช้เทคโนโลยีไร้สายแบบ Packet-Switched แทนเทคโนโลยี Analog และ Circuit-Switched ที่ใช้ในสองยุคแรกรู้จักเทคโนโลยี 3Gความจริงแล้ว 3G ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์หรือแพลตฟอร์มอะไรใหม่ แต่เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เป็นการนำคลื่นความถี่สัญญาณวิทยุมาเพิ่มความกว้างของคลื่นให้สามารถรองรับข้อมูลได้มากขึ้น เพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อแบบไร้สาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเว็บ (Web-enabled) ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะหรือโทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วยเทคโนโลยี 3G อุปกรณ์สื่อสารของคุณสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ พร้อมให้คุณทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหมุนโทรศัพท์เพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน ความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลแบบไร้สายที่รวดเร็วระดับ 2Mbps เพียงพอที่จะเปลี่ยนวิถีการใช้โทรศัพท์มือถือของคุณอย่างที่ไม่เคยคาดคิด สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวของคู่สนทนา หรือดาวน์โหลดหนังมาดูได้แบบทันใจ….สะใจพอไหม?มือถือระบบ 3G เป็นอย่างไรมือถือรุ่นใหม่ๆที่จะนำมาใช้งานกับเครือข่ายนี้ ต้องออกแบบระบบการรับส่งข้อมูลให้สนับสนุนการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูงของเครือข่าย 3G ได้ แม้รูปร่างหน้าตาอาจดูแปลกตาไปบ้างหรือบางเครื่องยังดูเหมือนเดิมไม่แตกต่างจากมือถือที่ขายอยู่ในปุจจุบัน แต่ระบบการทำงานและประโยชน์ใช้สอยมีมากกว่าแน่ๆRouting Networks : ระบบเชื่อมสัญญาณที่แตกต่าง เครือข่าย 3G จะเปลี่ยนรูปแบบการส่งข้อมูลใหม่ทั้งหมด กล่าวคือข้อมูลเสียงที่เกิดขึ้นระหว่างการสนทนาจะถูกสับเป็นส่วนๆ (Packet) ซึ่งในแต่ละ (Packet) จะมีรหัสกำกับไว้อย่างชัดเจนว่ามาจากที่ไหนอย่างไร (Packet Switched) High Speeds : สัมผัสความเร็วระดับ 3G ที่ชื่อ Universal Mobile Telecommunications Systems (UMTS) เครือข่ายที่พัฒนาต่อเนื่องจากเทคโนโลยี GSM ให้มีประสิทธิภาพด้านการส่งผ่านข้อมูลมากกว่า GSM รองรับผู้ใช้งาน (Subscriber) ได้มากกว่าดาวน์โหลดข้อมูลได้มากกว่าAiways Connected : บริการทันใจตลอด 24 ชั่วโมง การส่งผ่านข้อมูลแบบ Packet เพื่อลำเลียงเสียงและข้อมูลอื่นๆนั้นหมายความว่ามือถือของคุณได้ทำการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการส่งข้อความ SMS , อีเมล์ , คลิปวีดีโอ สามารถทำได้ทุกขณะที่ต้องการ ค่าใช้จ่ายจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วย ฝ่ายผู้ให้บริการอาจติดตามข้อมูล (Packet) ที่ทำการดาวน์โหลดตามจริง หรืออาจคิดแบบเหมาจ่ายรายเดือนรวดเดียว อันนี้ต้องติดตามกันต่อไปHeadset Problems : ปัญหาที่ตัวมือถือระบบ 3G จำเป็นต้องมีหน้าจอที่ใหญ่กว่าเดิม สำหรับการรับชมวิดีโอคลิปที่ดาวน์โหลดมาดู การอ่านและป้อนข้อมูลลงไปในหน้าจอ รวมไปถึงขนาดของหน่วยความจำที่ต้องเพิ่มขึ้นเพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งวีดีโอ คลิปและไฟล์ MP3 รูปร่างของตัวเครื่องอาจมีการขยับขยายและใหญ่กว่ามือถือที่เห็นในปัจจุบันบ้างเล็กน้อย เนื่องจากต้องกันพื้นที่สำหรับแบตเตอร์รี่ , ชิปเซ็ตโมบายเน็ตเวิร์คภายในอีกหลายตัว แต่สิ่งที่เห็นชัดคือ หน้าจอของมือถือนั้นเกือบทุกเครื่องจะมีขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ Stylus สำหรับการอินพุตข้อมูลได้อย่างสะดวก

การใช้ Internet โดยผ่านการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ

เชื่อมต่อ Internet ด้วย Nokia PC Suite 6.5
การเชื่อมต่อเข้าสู่โลก Internet ด้วยโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อด้วย WIFI, GPRS หรือแม้แต่การ Share Internet ความเร็วสูงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ (ADSL) สำหรับการเชื่อมต่อในพื้นที่ที่ไม่มีสายโทรศัพท์หรือไม่มีสัญญาณ WIFI คลื่นสัญญาณ GPRS จึงถูกนำมาใช้งานในการเชื่อมต่อ Internet ด้วยในปัจจุบัน GPRS ได้ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ทั่วโลก ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อ GPRS ถูกกว่าแต่ก่อนมาก การใช้ GPRS ในการเชื่อมต่อจึงเป็นที่นิยมกันอย่างมาก

ในการเชื่อมต่อ Internet โดยผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถท่องโลก Internet บนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นั้นอาจจะต้องตั้งค่าโทรศัพท์ให้เป็น Modem สำหรับการเชื่อมต่อหลายขั้นตอน ซึ่งจะอยู่ยากพอสมควรสำหรับผู้ใช้งานมือใหม่ วิธีการทำโทรศัพท์มือถือให้เป็น Modem สำหรับการเชื่อมต่อ Internet อย่างง่ายไม่ซับซ้อนอาจจะต้องยกให้โปรแกรม Nokia PC Suite

สำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นที่สามารถเชื่อมต่อ Internet ด้วย Nokia PC Suite ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ NOKIA รุ่น 3220, 3230, 5100, 5140, 6020, 6021, 6100, 6101, 6102, 6170, 6220, 6230, 6260, 6610, 6630, 6650, 6670, 6680, 6800, 6810, 6820, 6822, 7200, 7210, 7250, 7260, 7270, 7280, 7600, 7610, 7710, 8910i, 9300 และ Nokia 9500 ซึ่งในโทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่นจะใช้วิธีการเชื่อมต่อกับ Nokia PC Suite ที่ไม่เหมือนกัน ในบางรุ่นอาจจะเชื่อมต่อได้ด้วย Bluetooth, Infrared (IrDA) และสาย Cables สามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อสำหรับโทรศัพท์ในแต่ละรุ่นได้ที่ www.nokia.com สำหรับการรีวิวในส่วนของ PC Sync ในฉบับนี้จะขอกล่าวถึงการเชื่อมต่อ Internet ด้วย GPRS ผ่านโปรแกรม Nokia PC Suite และ GPRS Package ของแต่ละเครือข่ายรวมถึงการ Preview โปรแกรมตรวจสอบการใช้งาน GPRS โดยฝีมือคนไทยที่ใช้ชื่อโปรแกรมว่า GPRS Usage Time…

การตั้งค่า Modem ในการเชื่อมต่อ
ในเชื่อมต่อ Internet ครั้งแรกผู้ใช้งานจะต้องทำการตั้งค่า Modem ในการเชื่อมต่อ ซึ่งในการตั้งค่า Modem นี้สามารถเลือกรูปแบบการเชื่อมต่อได้ 3 วิธี ดังนี้
• เชื่อมต่อด้วย Bluetooth modem
• เชื่อมต่อด้วย Cables modem
• เชื่อมต่อด้วย IrDA

การตั้งค่า Bluetooth และ Cables modem
1. ติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ Nokia PC Suite หากเชื่อมต่อด้วย Bluetooth ให้ทำการเปิดสัญญาณ Bluetooth ด้วย
2. เลือกเมนู Start >> Setting >> Control Panel เลือก Phone and modem options (รูปที่ 1)


Image
รูปที่ 1: Phone and modem options


3. คลิกที่ Modem Tabs เลือก Add (รูปที่ 2)


Image
รูปที่ 2: Modem Tabs >> Add

4. เลือก Don’t detect my modem; I will select it from a list แล้วคลิก Next (รูปที่ 3)


Image
รูปที่ 3: เลือก Medem ตามรายการ

5. จะปรากฏหน้าจอ Install New modem ในช่อง Manufacturer เลือก Nokia และในช่อง Models ให้เลือกรุ่นโทรศัพท์มือถือให้ตรงกับรุ่นที่จะเชื่อมต่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ แล้วคลิก Next (รูปที่ 4)


Image
รูปที่ 4: เลือก Modem

6. คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ และที่หน้าจอโทรศัพท์มือถือจะแสดงข้อความยืนยันในการเชื่อมต่อ ให้เลือก Accept (ข้อความในแต่ละรุ่นอาจจะไม่เหมือนกัน) (รูปที่ 5)


Image
รูปที่ 5: ยืนยันการเชื่อมต่อใน NOKIA 7710

7. เลือก COM Port ให้กับ modem แล้วคลิก Next (รูปที่ 6)


Image
รูปที่ 6: เลือก Port ให้กับ Modem

8. Modem จะถูกติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วคลิก Finish (รูปที่ 7)

Image

รูปที่ 7: การติดตั้ง Modem สำเร็จเรียบร้อย


9. ใน Modem Tabs จะมี modem ที่ถูกติดตั้งขึ้นมาแสดง (รูปที่ 8)


Image
รูปที่ 8: รายชื่อ Modem ที่เพิ่มเข้าไป


หมายเหตุ : ก่อนการตั้งค่า Modem ควรติดตั้งไดรว์เวอร์ Bluetooth, IrDA, Cables ให้เรียบร้อยพร้อมใช้งานก่อนเสมอ

การเชื่อมต่อ Internet ด้วย Nokia PC Suite
ก่อนการเชื่อมต่อ Internet ทุกครั้งควร Pair อุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อให้สามารถสื่อสารกับโปรแกรม Nokia PC Suite ได้ก่อนทุกครั้ง เมื่อเข้าสู่หน้าจอโปรแกรม Nokia PC Suite แล้วให้เลือกที่ไอคอน “Connect to the Internet” (รูปที่ 9)


Image
รูปที่ 9: Connect to the Internet


จะเข้าสู่หน้าจอ “One Touch Access” ซึ่งในขั้นตอนนี้โปรแกรมจะทำการเชื่อมต่อให้อัตโนมัติ (รูปที่ 10) แต่เนื่องจากการใช้งานครั้งแรกจะยังไม่ได้ตั้งค่า Modem ที่จะใช้เชื่อมต่อจึงไม่สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้ให้คลิกที่ปุ่ม Settings เพื่อตั้งค่าการเชื่อมต่อ


Image
รูปที่ 10: คลิกปุ่ม Settings


หมายเหตุ : สำหรับการเชื่อมต่อครั้งต่อไปสามารถเชื่อมต่อได้ด้วยปุ่ม Connect หรือให้โปรแกรมทำการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติได้ตามปกติ

หลังจากคลิกปุ่ม Settings จะเข้าสู่ขั้นตอนสำหรับการเลือก Modem ที่จะใช้เชื่อมต่อ โดยจะใช้ Modem เดียวกันกับที่เพิ่มดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งสามารถเลือกได้ด้วยการคลิกที่ Drop-down menu และคลิก Next (รูปที่ 11)


Image
รูปที่ 11: เลือก Modem ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ

ในขั้นตอนต่อมาเลือกเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือที่ใช้ GPRS ในการเชื่อมต่อ Internet ที่หัวข้อ Select your network operator from the list โดยสามารถเลือกได้ด้วย Drop-down menu สำหรับในเครือข่ายของประเทศไทยจะมีให้เลือกใช้งานใน “One Touch Access Wizard” 3 เครือข่าย คือ AIS Thailand, DTAC Thailand และ Orange Thailand จากนั้นกด Finish เพื่อสิ้นสุดการตั้งค่าและพร้อมการใช้งาน (รูปที่ 12)


Image

รูปที่ 12: เลือกเครือข่ายผู้ให้บริการ

เมื่อตั้งค่าการใช้งานเรียบร้อยแล้วจะกลับเข้าสู่หน้าจอสำหรับการเชื่อมต่อ คลิกปุ่ม Connect เพื่อเริ่มการเชื่อมต่อ ระหว่างการ Connect นั้น จะมีสถานะของการเชื่อมต่ออยู่ด้านบนปุ่ม Settings (รูปที่ 13) หากตั้งค่า Modem ไม่ถูกต้องหรือยังไม่ได้เปิดสัญญาณ Bluetooth, IrDA ที่เครื่องโทรศัพท์มือถือจะปรากฏข้อความ “Failed to connect to the network! The modem may be used by another application or the modem may not be configured properly.” (รูปที่ 14)

Image
รูปที่ 13: สถานะของการเชื่อมต่อ

Image
รูปที่ 14: ตั้งค่าการเชื่อมต่อไม่ถูกต้อง


หากการตั้งค่าทุกอย่างถูกต้องและสามารถเชื่อมต่อกับ PC Suite ได้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการ Connect ตามปกติโดยจะมีข้อความยอมรับการเชื่อมต่อที่หน้าจอโทรศัพท์มือถือให้กด Accept เมื่อเชื่อมต่อสำเร็จจะปรากฏความเร็วในการเชื่อมต่อ Internet ปรากฏที่ Taskbar (รูปที่ 15)


Image
รูปที่ 15: ความเร็วในการเชื่อมต่อ


GPRS Package ของผู้ให้บริการต่างๆ
สำหรับการเชื่อมต่อ Internet ด้วย GPRS ปัจจุบันราคาการให้บริการ GPRS ถูกลงกว่าก่อนมาก และผู้ให้บริการแต่ละเครือข่ายจะมีรายการส่งเสริมการขายในแต่ละ Package ที่ไม่เหมือนกัน สำหรับการเชื่อมต่อ Internet เพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นผู้เขียนจะขอแนะนำ GPRS Package ที่คิดตามเวลาที่ใช้งาน (นาที) ตามอัตราค่าบริการในแต่ละเครือข่าย ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า Package ที่คิดตามปริมาณข้อมูล ดังนี้

• เครือข่าย AIS
- สำหรับลูกค้าเหมาจ่ายรายเดือน มี Package ตามรายการ ดังนี้


Image


* แพ็คเกจมีผล 24 รอบบิล
** เมื่อใช้เกินแพ็คเกจที่เลือกไว้ เวลาที่ใช้เกิน คิดค่าบริการนาทีละ 1 บาท


- สำหรับลูกค้าแบบเติมเงิน มี Package ตามรายการ ดังนี้


Image


* เมื่อใช้เกินแพ็คเกจที่เลือกไว้ เวลาที่ใช้เกิน คิดค่าบริการนาทีละ 1 บาท
* สมัครใช้บริการกด *138 (ไม่คิดค่าบริการ) หรือสมัครใช้บริการได้ที่ AIS Call Center 1175


• เครือข่าย DTAC
- สำหรับลูกค้าเหมาจ่ายรายเดือน มี Package ตามรายการ ดังนี้


Image


* เมื่อใช้เกินแพ็คเกจที่เลือกไว้ เวลาที่ใช้เกิน คิดค่าบริการนาทีละ 0.50 บาท

- สำหรับลูกค้าแบบเติมเงิน คิดอัตรานาทีละ 1 บาท

• เครือข่าย Orange
- สำหรับลูกค้าเหมาจ่ายรายเดือน สามารถใช้งาน GPRS/WIFI ได้แบบไม่จำกัด โดยมี Package ตามรายการ ดังนี้


Image


* แพ็คเกจมีผล 6 รอบบิล

หมายเหตุ : อัตราค่าบริการในแต่ละเครือข่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดสอบถามผู้ให้บริการเครือข่ายอีกครั้งหนึ่ง

ตรวจสอบการใช้งาน GPRS ด้วย GPRS Usage Time
โปรแกรม GPRS Usage Time เป็นโปรแกรมตรวจนับการใช้งาน GPRS ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนเวลา (ชั่วโมง) ที่สามารถใช้งานได้และมีเสียงแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงจำนวนชั่วโมงที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังสามารถ Print out เพื่อตรวจสอบรายการเชื่อมต่อได้อีกด้วย

หน้าจอโปรแกรม GPRS Usage Time (รูปที่ 16)


Image
รูปที่ 16: หน้าจอโปรแกรม


(1) เมนูของโปรแกรม ซึ่งจะรวบรวมคำสั่งต่างๆ ในการใช้งาน
(2) แสดง Path ของ Database ในการจัดเก็บข้อมูลการใช้งาน สามารถกำหนดไฟล์และแหล่งจัดเก็บใหม่ได้ในเมนู Edit -> Preferences (รูปที่ 17)


Image
รูปที่ 17: กำหนดใช้งาน Database


(3) เป็นส่วนแสดงผลของการตรวจนับการใช้งาน GPRS ประกอบด้วย (รูปที่ 18)


Image
รูปที่ 18: แสดงผลการตรวจนับการใช้งาน


- This session : แสดงเวลาที่ใช้ไปในขณะนั้น จะเริ่มนับเมื่อมีการเชื่อมต่อ Internet ในกรณีที่ได้ตั้งค่าการนับเป็นแบบ Auto หรือเริ่มนับเมื่อคลิกปุ่ม Start
- Used : แสดงเวลาที่ใช้ไปทั้งหมดในรอบเดือนนั้นๆ
- Remain : แสดงเวลาคงเหลือที่ใช้ได้ในรอบเดือนนั้นๆ

(4) แสดงรายชื่อ Modem ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ หากเลือก Modem ใดและมีการเชื่อมต่อที่ Modem นั้น โปรแกรมจะเริ่มนับเวลาแบบอัตโนมัติ (รูปที่ 19)


Image
รูปที่ 19: เลือกใช้งาน Modem


(5) Alarm สำหรับกำหนดเวลา (นาที) ในการใช้งานแต่ละครั้ง เมื่อถึงกำหนดเวลาจะมีเสียงเตือนเกิดขึ้น
(6) ปุ่มควบคุมการทำงาน ปุ่ม Start สำหรับเริ่มการนับเวลา ปุ่ม Exit ออกจากโปรแกรม

การกำหนดเวลาใช้งานในแต่ละรอบบิล
ในการกำหนดเวลาการใช้งานในแต่ละรอบบิล สามารถกำหนดได้ที่เมนู Edit -> Preferences ในช่อง Quota ให้ใส่จำนวนชั่วโมงที่สามารถใช้ได้ในรอบบิลนั้นๆ และในช่อง Auto reset on date กำหนดวันที่การเปลี่ยนรอบบิลใหม่ โดยเมื่อถึงกำหนดโปรแกรมจะทำการ Reset ใหม่ให้อัตโนมัติ (รูปที่ 20)


Image
รูปที่ 20: กำหนดเวลาการใช้งานในแต่ละรอบบิล


การกำหนดเวลาการใช้งานในแต่ละครั้ง
การบริหารเวลาการใช้งานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเพื่อไม่ให้เกิน Promotion ของผู้ให้บริการเครือข่าย ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น การกำหนดเวลาการใช้งานในแต่ละครั้งนั้นจะสามารถกำหนดได้ที่หน้าจอหลักของโปรแกรมในช่อง Alarm เพื่อระบุเวลาการใช้งานในครั้งนั้นๆ และกดปุ่ม Set เพื่อตั้งค่าเวลาตามที่ระบุไว้ (รูปที่ 21) เมื่อถึงกำหนดเวลาจะมีเสียงเตือนที่ลำโพงคอมพิวเตอร์ สำหรับการยกเลิกการตั้งค่าให้กดปุ่ม Reset


Image
รูปที่ 21: กำหนดเสียงเตือน


การ Reset การตรวจนับเวลา
กรณีที่ต้องการ Reset การตรวจนับเวลาให้เริ่มใหม่ทั้งหมดจะใช้เมนู File -> Reset Counter หลังจากใช้คำสั่งนี้เวลาการตรวจนับทั้งหมดจะหายไป และจะเริ่มนับใหม่เมื่อกดปุ่ม Start หรือมีการเชื่อมต่อ Internet ตาม Modem ที่เลือกไว้

การเพิ่มนาทีย้อนหลัง
บางครั้งการใช้งานแบบ Manual อาจทำให้ลืมกดปุ่ม Start เพื่อเริ่มนับเวลาการใช้งาน หรือเมื่อมีการใช้งาน GPRS จากที่อื่น เช่น ใช้งานในโทรศัพท์มือถือโดยตรง ทำให้การตรวจนับเวลาการใช้งานคลาดเคลื่อน คำสั่ง Increase counter manually ในเมนู File จึงถูกพัฒนาขึ้นเพิ่มเติมเพื่อรองรับปัญหาเหล่านี้ ในหน้าจอ Increase counter manually จะมีช่อง Increase minutes สำหรับใส่จำนวนนาทีที่ต้องการเพิ่มย้อนหลัง (รูปที่ 22)


Image
รูปที่ 22: การเพิ่มนาทีย้อนหลัง


การแสดงรายละเอียดการใช้งาน
การแสดงรายละเอียดวันที่ เวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการใช้งาน หรือเรียกว่า Report การใช้งาน GPRS ที่สามารถสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) หรือจะเรียกดูที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ โปรแกรม GPRS Usage Time ก็สามารถทำได้ดี โดยจะมีรายละเอียดแสดงดังต่อไปนี้ (รูปที่ 23)


Image
รูปที่ 23: แสดงรายละเอียดการใช้งาน (Report)


(1) ชื่อโปรแกรมและวันที่เรียก Report
(2) วันที่เริ่มต้นของรอบบิล และวันครบรอบกำหนด
(3) แสดงวันที่ใช้งาน
(4) แสดงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการใช้งาน GPRS
(5) แสดงจำนวนนาทีที่ใช้ไปในแต่ละครั้ง
(6) รวมเวลาการใช้งานทั้งหมด

และนี่เป็นเพียงการ Preview การใช้งาน GPRS Usage Time ในบางฟังก์ชั่นที่จำเป็นสำหรับการใช้งาน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ใช้ GPRS ในการเชื่อมต่อ Internet โดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็น modem หากผู้อ่านท่านใดอยากทดสอบหรือต้องการดาวน์โหลดเพื่อใช้งานสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ www.smart-mobile.com ใน Forum “Developer area” ที่พัฒนาโดยคุณ SuperToy โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากเป็น Freeware และต้องขอความกรุณาห้ามดาวน์โหลดโปรแกรมนี้นำไปค้าขายเพื่อที่ผู้พัฒนาจะได้มีกำลังใจในการพัฒนาโปรแกรมอื่นๆ ต่อไป

ระบบ ADSL

ความรู้เกี่ยวกับ ADSL เบื้องต้น
ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้ • งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต• การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)• ระบบเครือข่าย LAN• การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL • ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก • ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ FAX ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด • ไม่มีปัญหาเนื่องสายไม่ว่าง ไม่ต้อง Log On หรือ Log off ให้ยุ่งยากอีกต่อไป • ADSL ไม่เหมือนกับการให้บริการของ Cable Modem ตรงที่ ADSL จะทำให้ท่านมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ขณะที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อาจเป็นเพื่อนบ้านของท่าน • ที่สำคัญ Bandwidth การใช้งานของท่านจะมีขนาดคงที่ (ตามอัตราที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่เสมอ) ขณะที่ขนาดของ Bandwidth ของการเข้ารับบริการ Cable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สาย Cable Modem ของเพื่อนบ้านท่าน • สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL สำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน ADSL ADSL ที่ว่าทำงานเร็ว นั้นเร็วเท่าใดกันแน่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ADSL มีอัตราความเร็วขึ้นอยู่กับชนิด ดังนี้• Full-Rate ADSL เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที • G.Lite ADSL เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K • ผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ อัตราความเร็วขึ้นอยู่กับ ระดับของการให้บริการ จากผู้ให้บริการ โดยปกติแล้ว Modem ที่เป็นระบบ ADSL สามารถ Download ข้อมูลได้ที่ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที ไปจนถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ มาตรฐาน G.lite ที่กำลังจะมาใหม่ สามารถให้บริการที่อัตราความเร็วเป็น 1.5 เมกกะบิตต่อวินาทีADSL สามารถทำงานที่ Interactive Mode หมายความว่า ที่ Mode การทำงานนี้ ADSL สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล ที่ความเร็วมากกว่า 640 Kbps พร้อมกันทั้งขาไปและขากลับขีดความสามารถของ ADSLเทคโนโลยีของ ADSL เป็นแบบ Asymmetric มันจะให้ Bandwidth การทำงานที่ Downstream จากผู้ให้บริการ ADSL ไปยังผู้รับบริการสูงกว่า Upstream ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลจากผู้ใช้บริการหรือลูกค้า ไปยังผู้ให้บริการ(ดังรูปที่ 1 และ 2)
รูปที่ 1 แสดงความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลแบบ Upstream/Downstream

รูปที่ 2 แสดงเปรียบเทียบความเร็วของระบบ

วงจรของ ADSL จะเชื่อมต่อ ADSL Modem ที่ทั้งสองด้านของสายโทรศัพท์ ทำให้มีการสร้างช่องทางของข้อมูลข่าวสารถึง 3 ช่องทาง ได้แก่• ช่องสัญญาณ Downstream ที่มีความเร็วสูง • ช่องสัญญาณ ความเร็วปานกลางแบบ Duplex (ส่งได้ทางเดียว) • ช่องสัญญาณที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน ช่องสัญญาณ Downstream ความเร็วสูง มีความเร็วระหว่าง 1.5-6.1 Mbps ส่วนอัตราความเร็วของช่องสัญญาณแบบ Duplex อยู่ที่ 16-640 Kbps นอกจากนี้ ในแต่ละช่องสัญญาณยังสามารถแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณย่อยๆ ที่มีความเร็วต่ำ ที่เรียกว่า Sub-Multiplex ได้อีกหลายช่องADSL Modem สามารถให้อัตราความเร็วการส่งถ่ายข้อมูลมาตรฐานเทียบเท่า North American T1 1.544 Mbps และ European E1 2.048 Mbps โดยผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการความเร็วได้หลายระดับ
ระยะทางและอัตราความเร็วของ ADSL ระยะทางมีผลต่ออัตราความเร็วในการให้บริการของ ADSL เป็นอย่างมาก โดยมีปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดความยาวสาย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวด อุปกรณ์ Bridge Taps รวมไปถึงการกวนกันของอุปกรณ์ Cross-Coupled ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก ความเสื่อมถอย (Attenuation) ของสัญญาณเกิดขึ้น เมื่อความยาวของสายทองแดงมีมากขึ้น รวมทั้งความถี่ ซึ่งค่านี้จะลดลงเมื่อเพิ่มขนาดของสาย อย่างไรก็ดี งาน Application ที่ต้องใช้บริการ ADSL ส่วนใหญ่ จะเป็นพวก Compressed Digital Video เนื่องจากเป็นสัญญาณประเภททำงานแบบเวลาจริง (Real-Time) ด้วยเหตุนี้ สัญญาณ Digital Video เหล่านี้ จึงไม่สามารถใช้ระบบควบคุมความผิดพลาด แบบที่มีอยู่ในระดับของเครือข่ายทั่วไป ดังนั้น ADSL Modem จึงมีระบบ ที่เรียกว่า Forward Error Correction ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นโดยสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาสั้นมาก หรือที่เรียกว่า Impulse Noise โดย ADSL Modem จะใช้วิธีการตรวจสอบความผิดพลาดที่ทำงานบนพื้นฐานของ การกำหนดให้มีการตรวจสอบสัญญาลักษณ์ทีละตัว การทำเช่นนี้ ก็ยังช่วยให้ เป็นการลด ปัญหาการควบของสัญญาณรบกวนในสาย
การทำงานของ ADSL หลักการทำงานของ ADSL ไม่มีอะไรมาก เนื่องจากว่า สายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง มี Bandwidth สูงคิดเป็น หลายๆ MHz ดังนั้น จึงมีการแบ่งย่านความถี่นี้ออกเป็นส่วน เพื่อใช้งานโดยวิธีการแบบที่เรียกว่า FDM (Frequency Division Multiplexing) ซึ่งเป็นเทคนิคการแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นหลายๆช่อง โดยที่แต่ละช่องสัญญาณจะมีความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะได้ Bandwidth ต่างๆ ดังนี้• ย่านความถี่ขนาดไม่เกิน 4 KHz ปกติจะถูกนำมาใช้เป็น Voice กับ FAX• ย่านความถี่ที่สูงกว่านี้ จะถูกสำรองจองไว้ให้การรับส่งข้อมูล โดยเฉพาะ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น หลายย่านความถี่ เช่น ช่องสัญญาณสำหรับ การรับข้อมูลแบบ Downstream ตัวอย่าง เช่นการ Download ข้อมูล ส่วนช่องสัญญาณอื่นมีไว้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วต่ำกว่า Downstream ซึ่งเรียกว่า Upstream หรือสำหรับการ Upload ข้อมูล เป็นต้น (ดูรูปที่ 3 )
รูปที่ 3 ภาพแสดงการแบ่งย่านความถี่ของ ADSL

สถาปัตยกรรมการทำงานของเครือข่าย ADSL เทคโนโลยีของเครือข่าย ADSL มิได้มีไว้เพื่อการ Download ข้อมูลจาก Web Page อย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการให้บริการสื่อสารในลักษณะ Broad Band สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งคำว่า Broad Band ในที่นี้หมายถึง การให้บริการสื่อสารที่มีความเร็วเกินกว่า 1-2 Mbps ขึ้นไป (ดังรูปที่ 4)
รูปที่ 4 ภาพแสดงโครงสร้าง Infrastructure ของเครือข่าย ADSL

รูปที่ 4 เป็นการแสดงการเชื่อมต่อ ADSL ในลักษณะเครือข่าย Broad Band ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบนี้ เป็นแบบเรียบง่าย โดยผู้เข้ารับบริการมีเพียง Modem ที่เป็นระบบ ADSL เท่านั้น เสียบเข้ากับ Connector ที่เป็นอุปกรณ์เรียกว่า Splitter หรือ Filter ซึ่งมีลักษณะคล้ายเต้าเสียบสายโทรศัพท์ ซึ่งจะมี Connector 2 ช่อง โดยช่องหนึ่งสำหรับเสียบสาย Modem ขณะที่อีกช่องหนึ่งสำหรับเสียบเข้ากับสายโทรศัพท์ ตามปกติ และสามารถใช้งานได้พร้อมๆกัน บนสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันเท่านั้น (ADSL Modem บางแบบสามารถติดตั้งเข้ากับสายโทรศัพท์ได้เลย ไม่ต้องเชื่อมต่อกับ Splitter) ลักษณะของตัว Splitter หรือ Filter ดังรูปที่ 5 และ 6
รูปที่ 5 ภาพแสดง อุปกรณ์ Splitter
รูปที่ 6 ภาพแสดงการเชื่อมต่อระหว่าง ADSL Modem ที่บ้าน
ผู้ใช้บริการสามารถใช้โครงข่าย ADSL นี้เพื่อการ Access เข้าไปขอรับบริการจากผู้ให้บริการ (Provider) เช่น Internet Provider หรือ ผู้ให้บริการ Video On Demand Server หรือผู้ให้บริการข้อมูลต่างๆ เป็นต้น
สถานที่ผู้เข้ารับบริการ ADSL นั้น นอกจากจะต้องมี ADSL Modem แล้ว ยังต้องมี อุปกรณ์เล็กๆตัวหนึ่ง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วคือ Splitter หรือ Filter ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ จะทำหน้าที่แยกสัญญาณเสียงที่มีความถี่ไม่เกิน 4 KHz สำหรับการส่ง Voice เช่นการพูดคุยโทรศัพท์ ส่วนย่านความถี่ที่เหลือ เช่น 1-2 MHz ขึ้นไป จะถูกกันไว้เพื่อการส่งข้อมูล (Upstream) และรับข้อมูลเข้ามา (Downstream) โดยที่ Splitter สามารถแยกสัญญาณทั้ง 3 ออกจากกัน ดังนั้นท่านสามารถคุยโทรศัพท์ขณะที่ยังสามารถ Download ข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ตพร้อมกันได้ส่วนที่ศูนย์บริการระบบ ADSL นั้น เราเรียกว่า CO หรือ Central Office ซึ่งอาจเป็นของผู้ให้บริการ ADSL หรือไม่ก็อาจเป็นชุมสายโทรศัพท์เสียเองก็ได้ จะทำหน้าที่รับเอาสัญญาณ Voice Services (เสียงพูดโทรศัพท์) เข้ามาที่ตัว Voice Switch ซึ่งอาจรวมทั้ง Data ก็ได้ โดย สัญญาณทั้งสองจะมาสิ้นสุดที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Splitter ชุดใหญ่ที่ศูนย์ให้บริการแห่งนี้ ลักษณะนี้จะเห็นได้ว่า เส้นทาง Local Loop (เส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ) จะไปสิ้นสุดที่ Access Node แทนที่จะเป็น CO Switch (คำว่า Access Node ในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสลับสัญญาณ ADSL หรือที่เรียกว่า DSLAM (DSL Access Multiplexer ส่วน CO Switch หรือ Voice Switch หมายถึงระบบสลับสัญญาณเพื่อให้บริการระบบโทรศัพท์)หน้าที่ของ DSLAM ได้แก่การสลับสัญญาณ ADSL ที่เข้ามาพร้อมๆกันหลายช่อง โดยผ่านเข้ามาทางชุด Splitter ในศูนย์ผู้ให้บริการ ให้สามารถออกไปที่ เอาท์พุท ปลายทาง ซึ่งในที่นี้ได้แก่ ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายต่างๆ เช่น ISP หรือผู้ให้บริการ Video On Demand หรือศูนย์ให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ หรือ สำนักงานใหญ่ของหน่วยงานธุรกิจภาคเอกชนก็ได้ (ดังรูปที่ 7)
รูปที่ 7 ภาพแสดงลักษณะของ DSLAM

ส่วนประกอบของโครงข่าย ADSL
เครือข่าย ADSL จัดเป็นเครือข่ายที่มีสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ มีรายละเอียดดังนี้ (ดูรูปที่ 8 )
รูปที่ 8 ภาพแสดงส่วนประกอบของระบบ ADSL

จากรูปที่ 8 จะเห็นว่า เครือข่าย ADSL ประกอบด้วย ADSL ATU-R ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถ Access เข้าไปที่เครือข่าย ADSL ได้ โดยที่อุปกรณ์ดังกล่าว อาจมีลักษณะเป็นกล่องเล็กๆ ที่วางบนเครื่อง PC หรือบน TV ก็ได้ ซึ่งโดยมากอุปกรณ์นี้ จะเป็น ADSL Modem พร้อมด้วย Splitter หรือ ADSL Router อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้การเชื่อมต่อสายจาก ATU-R อาจง่ายดายเหมือนการติดตั้ง 10Base-T LAN ก็ได้ หรือไม่ก็อาจมีความสลับซับซ้อน ดังเช่น การติดตั้งเครือข่าย ATM ก็เป็นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่จะใช้ เพื่อการ Access เข้าไปที่เครือข่าย ADSLอย่างไรก็ดี แม้ว่าจะเป็นการ Access เข้าไปที่ระบบเครือข่ายในรูปแบบของ Broad Band ก็ตาม แต่การเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เนื่องจากมีอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณ Analog ออกมาให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วภายใน Central Office หรือชุมสายโทรศัพท์ท้องถิ่น (หรือผู้ให้บริการ ADSL) นั้น การให้สัญญาณเสียงแบบ Analog ซึ่งก็คือเสียงโทรศัพท์ จะถูกส่งผ่านไปที่ PSTN Voice Switch (ระบบโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) พร้อมด้วย Splitter ต่างหากอีกชุดหนึ่ง โดยสัญญาณโทรศัพท์จะถูกแยกออกไปที่ระบบสลับสายสัญญาณโทรศัพท์ปกติ ส่วน สัญญาณที่เป็นข้อมูลที่มาจาก ADSL Modem จะถูกส่งไปที่ DSLAM จากนั้นจะถูก Multiplex หรือสลับสัญญาณไปที่ผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆ เช่น ISP เป็นต้นโดยปกติแล้ว Software สำหรับการสลับสายสัญญาณโทรศัพท์ไม่จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง หรือ Upgrade แต่อย่างใด (ไม่เหมือนกับระบบ ISDN ที่ต้องการ Upgrade) นอกจากนี้ ADSL ยังช่วยลดจำนวนของ Voice Switch และลดปัญหา ความแออัดของ Trunk อันเนื่องมาจากการให้บริการที่ไม่ใช่ Voice อีกด้วยการเชื่อมต่อของ ADSL ทั้งหมดที่มาจากผู้ใช้บริการ จะมารวมอยู่ที่ DSLAM จากนั้นก็จะถูกนำเข้าสู่อุปกรณ์ ที่เรียกว่า DACs ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ จะพาเข้าสู่ Trunk ของเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ซึ่ง Trunk นี้ อาจเป็น ระบบ Unchannelized T3 ซึ่งวิ่งที่ความเร็ว 45 Mbps และจากนั้นก็จะวิ่งเข้าสู่ ISP อีกทีหนึ่ง สำหรับในประเทศไทย มีผู้ให้บริการบางรายที่ใช้ Trunk เพื่อเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ ISP เป็น Frame Relay ขนาดความเร็ว 512 Kbps (ขณะที่เขียนบทความอยู่นี้ คาดว่า Configuration นี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว) ดูรูปที่ 9
รูปที่ 9 แสดงการเชื่อมต่อของ UBT

ADSL กับมาตรฐานการทำงาน ในสหรัฐมีการกำหนดมาตรฐานการทำงานของ ADSL ในระดับปฏิบัติการเชิง Physical Layer โดย American National Standard Institute (ANSI) ได้กำหนดมาตรฐานของ ADSL ขึ้นมาเรียกว่า T.413-1995 ซึ่งในเอกสารมีการระบุว่า อุปกรณ์ ADSL สามารถสื่อสารกันบน เครือข่ายแบบ Analog Loop ได้อย่างไร แต่ในเอกสารไม่ได้ตั้งใจที่จะอธิบายสถาปัตยกรรมทั้งหมดของเครือข่ายรวมทั้งการให้บริการ นอกจากนี้ยังไม่ได้อธิบายหน้าที่การทำงานภายใน อุปกรณ์ ADSL Access Node ใดๆ แต่จะเน้นถึงการเข้ารหัสข้อมูลภายในสาย (จะส่งข้อมูลที่เป็นบิตได้อย่างไร?) รวมทั้งโครงสร้างของ Frame (บิตข้อมูลต่างๆถูกจัดเข้าเป็นองค์ประกอบได้อย่างไร?) บนสายสัญญาณผลิตภัณฑ์ ADSL ได้ถูกผลิตขึ้นให้ใช้วิธีการของ Line Coding (วิธีการเข้ารหัสเพื่อการส่งสัญญาณในสาย) ซึ่งวิธีการของ Line Coding นี้มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ Carrier Amplitude/Phase Modulation (CAP) Quadrature Amplitude Modulation (QAM) และเทคโนโลยี Discrete Multitone (DMT)ไม่ว่า ระบบ Line Coding จะเป็นเช่นใด ไม่ว่าสายสัญญาณทั้งสองเส้นจะถูกนำมาใช้เพื่อการรับส่งข้อมูลแบบ Full Duplex (การรับส่งข้อมูลแบบสวนทางกันไปกลับระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง) ก็ตาม หรือพิสัยของคลื่นความถี่จะถูกแบ่ง Upstream หรือ Downstream Bandwidth (ระบบ FDM แบบง่าย) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะต้องใช้ Echo Cancellation ก็ตาม (Echo Cancellation เป็นการขจัดความเป็นไปได้ของสัญญาณในทิศทางใดทิศทางหนึ่งที่เป็นสัญญาณของผู้พูด จะเกิดการสะท้อนกลับมาที่ผู้พูดเองเหมือนท่านที่พูดโทรศัพท์มือถือจะได้ยินเสียงพูดของตนเอง)ภายใต้เครือข่าย ADSL นี้ ระบบ FDM กับ Echo Cancellation สามารถทำงานร่วมกันแบบผสมผสานกันได้ (เหตุผลที่ต้องใช้ระบบ FDM ก็เนื่องจากใช้เพื่อแยกช่องสัญญาณ จากนั้นก็ทำการสลับสัญญาณ ซึ่งเหตุที่ต้องสลับสัญญาณก็เนื่องจากใช้งาน สายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน) ในหลายกรณี มาตรฐาน ANSI ภายใต้เอกสาร T.413 ได้กำหนดให้ ADSL ใช้ Line Coding แบบเทคโนโลยี DMT และมีการเลือกใช้ FDM หรือ Echo Cancellation อย่างใดอย่างหนึ่งแทนที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อที่ให้ได้การทำงานแบบ Full Duplex FDM เป็นวิธีการที่ง่ายต่อการใช้งาน ส่วน Echo Cancellation นั้น อาจเกิดปัญหา Near End Cross Talk (สัญญาณรบกวนที่อยู่ปลายด้านหนึ่งของสายสัญญาณ โดยอยู่ด้านตรงข้ามของผู้ส่ง) FDM สามารถหลีกเลี่ยงปัญหา Near End Cross Talk ได้ โดยการทำให้เครื่องรับเพิกเฉยต่อย่านความถี่ที่เครื่องส่งได้ส่ง Near End Cross Talk ออกมา ซึ่งก็แน่นอนที่ FDM สามารถตัดทอนจำนวนของ Bandwidth ที่มีอยู่ในแต่ละทิศทาง เมื่อเป็นเช่นนี้ Echo Cancellation สามารถใช้ประโยชน์ของ Bandwidth ได้อย่างเต็มที่ แต่จะมีความซับซ้อนในการทำงานมากกว่า นอกจากนี้ Echo Cancellation สามารถใช้ความถี่ต่ำได้มากที่สุด ทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด
สรุปส่วนประกอบของระบบ ADSL ADSL มีส่วนประกอบที่ใช้ทำงานดังต่อไปนี้• ADSL Transceiver Unit Central Office (ATU-C) เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งในศูนย์ให้บริการ ADSL ใช้เพื่อรับส่งข้อมูลระหว่าง ผู้ใช้บริการผ่านศูนย์ อุปกรณ์นี้ อาจเป็น Splitter ที่เชื่อมต่อเข้ากับ DSLAM • ADSL Transceiver Unit Remote Office (ATU-R) หรือที่เรียกว่า ADSL Modem• Splitter - เป็น Filter แบบ Low Pass Filter เพื่อใช้แยกสัญญาณ POT (Plain Old Telephone - ระบบโทรศัพท์ทั่วไป) จาก ADSL• Digital Subscriber Line Access Multiplexer (DSLAM) - สามารถทำการ Multiplex สัญญาณที่เข้ามาทางสายทองแดง เข้าเป็น 1 ATM Mode Fiber รวมทั้งยังมี ATU-C ใน Frame เดียวกัน (ดูรูปที่ 10)
รูปที่ 10 แสดง ADSL Loop Architecture

รู้จักกับ Line Code ของ ADSL ADSL ใช้ Line Code 2 แบบ ซึ่ง Line Code ในที่นี้ หมายถึง การกำหนดวิธีการส่งข้อมูล Bit 0 กับ Bit 1 บนสายสัญญาณ หากไม่ใช้ Line Code การส่งข้อมูลบนสายสัญญาณจะเกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่ง ADSL มี Line Code อยู่ 2 แบบ ได้แก่ DMTกับ CAP (ท่านที่ซื้อ ADSL Modem จะเห็นประเภทของ Line Code กำกับอยู่ข้างกล่องเสมอCAP (Carrierless Amplitude/Phase Modulation)Phase Modulation เสียก่อน ซึ่งหลักการผสมสัญญาณของ QAM มีดังนี้QAM เป็นการผสมสัญญาณที่ใช้ทั้งการเปลี่ยนเฟส และขนาดของสัญญาณควบคู่กันไป เป็นเทคนิคสำหรับใช้กับ Modem ความเร็วสูง ซึ่งถ้าใช้การเปลี่ยนเฟสเพียงอย่างเดียว มุมที่เปลี่ยนแปลงจะมีค่าน้อยเกินไปจะทำให้วงจรเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย แต่ถ้าเราใช้การเปลี่ยนเฟส และขนาดของสัญญาณประกอบเข้าด้วยกัน ก็จะช่วยให้วงจรฝ่ายผู้รับสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาณของข้อมูลค่าต่างๆกันได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งปกติที่มีใช้กันอยู่จะมีเฟสต่างกัน 8 เฟส และขนาดของสัญญาณต่างกัน 4 ระดับ ใช้แทนข้อมูล 16 สถานะ ซึ่งในหนึ่งลูกคลื่นจะสามารถส่งข้อมูลได้คราวละ 4 บิต การผสมสัญญาณของ QAM บางแบบจะใช้เฟส ต่างไปจากนี้ เช่นใช้เฟสต่างกัน 12 เฟส และขนาดของสัญญาณ 3 ระดับ หรืออาจใช้เฟสต่างกัน 8 เฟส และขนาดของสัญญาณต่างกัน 2 ระดับก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ แต่ว่าในมาตรฐานเดียวกัน Modem จะต้องใช้การแบ่งเฟส และระดับสัญญาณเท่ากันเสมอ และความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ QAM อยู่ที่ 9600 บิตต่อวินาที โดยใช้ความถี่พาหะ 2400 Hz และในหนึ่งลูกคลื่นจะแทนข้อมูลได้คราวละ 4 บิต CAP ใช้วิธีการเดียวกับ QAM คือมีการใช้ ระบบ การผสมสัญญาณเชิง Amplitude แบบหลายระดับ (Multi-Level Amplitude Modulation ( 1 Pulse จะมีค่าระดับแรงดันหลายระดับ) กับ Phase ModulationCAP จะแบ่งสายโทรศัพท์ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ส่วนของการส่งสัญญาณเสียง ส่วนของการส่งข้อมูลแบบ Upstream และส่วนของการส่งข้อมูลแบบ Downstream ทำให้สายโทรศัพท์เพียงเส้นเดียวสามารถ รับส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลได้ในเวลาเดียวกันได้CAP มีการใช้ Bandwidth ทั้งหมดของ Local Loop (ยกเว้นสัญญาณ Analog ขนาด 4Khz) ความแตกต่างระหว่าง CAP กับ QAM อยู่ที่การนำมาใช้งาน โดยที่ QAM นั้นมีการรวมเอาสัญญาณ Analog 2 สัญญาณ เข้าด้วยกัน เนื่องจากว่า สัญญาณคลื่นพา (Carrier) ไม่ใช่สัญญาณที่ใช้นำพาข้อมูล ดังนั้นการประยุกต์ใช้งาน CAP ก็ใช่ว่าจะมีการนำส่งข้อมูลไปเสียทั้งหมด การผสมสัญญาณในระบบ CAP เป็นการผสมสัญญาณในระบบ ดิจิตอล โดยใช้ ตัวกรองสัญญาณหรือ Filter แบบ ดิจิตอล 2 ชุด ที่มีลักษณะและขนาดของ Amplitude ที่เท่ากัน แต่ต่างกันที่ การตอบสนองทางเฟส (ซึ่ง Filter แบบนี้รู้จักกันในนามของ Hibert Pair)Modem ที่มีการผสมสัญญาณ (Modulation) แบบ CAP สามารถยอมรับ การสื่อสารข้อมูลในระบบ ATM หรือแบบ Packet รวมทั้ง การรับส่งข้อมูลแบบ Synchronous Bit ได้อีกด้วย CAP ได้นิยามมาตรฐานการทำงานของการสื่อสารข้อมูล 2 แบบๆแรก ได้แก่ Class A ซึ่งสามารถขนถ่ายข้อมูลแบบ Packet หรือเป็นแบบ เซลล์ (Cell) ได้ ซึ่งช่องสัญญาณนี้ไม่ค่อยอ่อนไหวในเรื่องของ Delay มากนัก ส่วนแบบที่ 2 เรียกว่า Class B Service ซึ่งเป็นช่องสัญญาณที่ใช้ขนถ่ายข้อมูลที่ค่อนข้างเปราะบางต่อปัญหา Delay โดยช่องสัญญาณนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อขนถ่ายข้อมูลแบบ Bit Synchronous ตัวอย่าง เช่น สัญญาณ ISDN ที่ความเร็ว 160 kbps เป็นต้น ซึ่ง Class B นี้จะกำหนดให้ระบบ FEC (Forward Error Correction) เป็นเพียง Option เท่านั้น และช่องสัญญาณข้อมูลทั้งสองเมื่อรวมเข้ากับ EOC หรือ Embedded Operations Channel (EOC มีไว้เพื่อการเฝ้าดูและหาจุดเสียปัญหาของ ADSL Modem) แล้ว จากนั้นก็ป้อนเข้าสู่ ADSL Modem ดังรูปที่ 11
รูปที่ 11 แสดงชนิดของข้อมูลที่สามารถใช้กับการผสมสัญญาณแบบ CAP

คุณประโยชน์ ที่เหนือกว่า QAM ตรงที่ CAP เป็นระบบ ดิจิตอล แทนที่จะเป็นการผสมสัญญาณแบบ Analog (เหมือนอย่าง QAM) ผลก็คือการประหยัดค่าใช้จ่ายCAP ให้คุณประโยชน์ดังนี้• เป็นเทคโนโลยีเก่าที่วิวัฒนาการมาจาก V.34 Modem เนื่องจาก CAP ทำงานบนพื้นฐานโดยตรงของ QAM จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้าใจง่าย และเนื่องจากไม่ต้องใช้ช่องสัญญาณย่อย ดังนั้นจึงใช้งานเรียบง่ายกว่าระบบ DMT • Modem ที่เป็นระบบ CAP สามารถรองรับ ATM Cell หรือ Traffic แบบ Bit Synchronization • Traffic ที่ทำงานในระบบ CAP มีอยู่ 2 แบบได้แก่การให้บริการใน Class A ที่สามารถขนถ่ายสัมภาระอันเป็นข้อมูลประเภท Packet หรือในรูปแบบของ Cell ซึ่งช่องทางของสัญญาณเหล่านี้ ไม่ค่อยจะอ่อนไหวกับปัญหา Delay เท่าใดนัก ประการที่ 2 ได้แก่ การให้บริการ Class B ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบน ช่องสัญญาณที่อ่อนไหวต่อปัญหา Delay ซึ่งช่องสัญญาณนี้จะถูกนำมาใช้กับการรับส่งข้อมูลในรูปแบบ Bit Synchronous (การรับส่งข้อมูลที่มีการควบคุมจังหวะการเคลื่อนที่ของบิต)
หลักการทำงานของ DMTสำหรับระบบ DMT นั้น สายทองแดงคู่จะสามารถรองรับ Bandwidth ขนาด 1 MHz ที่อาจถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 สำหรับช่องสัญญาณเสียง กับอีกส่วนหนึ่งสำหรับเป็นช่องสัญญาณข้อมูล ซึ่งในที่นี้ DMT ได้กำหนดให้มีมากถึง 256 ช่องสัญญาณ เมื่อใดที่เราใช้โทรศัพท์ เสียงจะถูกส่งผ่านไปทางช่องสัญญาณเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 4 kHz ขณะที่ ADSL จะใช้ช่วงสัญญาณที่สูงกว่า ทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถอยู่แยกออกต่างหาก จากข้อมูลเสียงข้อมูลที่ส่งจากคอมพิวเตอร์ ไปยัง อินเทอร์เน็ต จะใช้ช่องสัญญาณหลายๆช่องสัญญาณรวมกัน เพื่อให้ได้อัตราการรับส่งข้อมูลที่ดีที่สุด ขณะที่สัญญาณที่ส่งมาจากอินเทอร์เน็ตไปยังคอมพิวเตอร์ จะใช้ช่องสัญญาณอีกกลุ่ม ทำให้สามารถคุยโทรศัพท์ในขณะที่ยังสามารถ Download Files ได้โดยไม่ทำให้อัตราความเร็วของการ Download นั้นลดลงแต่อย่างใดแนวคิดพื้นฐานของ ได้แก่การแยก Bandwidth ที่มีอยู่ให้เป็นช่องสัญญาณย่อยๆเป็นจำนวนมาก และสามารถทำงานได้โดยไม่กวนกัน ดังนั้น ในแต่ละช่องสัญญาณย่อย สามารถมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด และถ้าหากว่าช่องสัญญาณย่อยใด ไม่มีการส่งข้อมูลใดๆ ก็สามารถปิดทิ้งเมื่อใดก็ได้ADSL Modem ที่ทำงานบนพื้นฐานของ DMT เราสามารถมองเป็นว่า ภายในประกอบไปด้วย Modem ขนาดจิ๋วจำนวน 256 ตัว แต่ละตัวมีความถี่ช่องสัญญาณที่ 4 KHz ซึ่งทำงานพร้อมกันในเวลาเดียว โดยระบบ DMT จะใช้คลื่นพาหลายตัวที่สร้าง ช่องสัญญาณย่อยเหล่านี้ขึ้นมา ซึ่งช่องสัญญาณย่อยเหล่านี้ จะเป็นผู้นำพาข้อมูลข่าวสารที่มีขนาดคิดเป็น เศษเสี้ยวของข้อมูลข่าวสารทั้งหมด ช่องสัญญาณเหล่านี้ จะมีการผสมสัญญาณเองโดยอิสระ ด้วยความถี่ที่ใช้ผสมสัญญาณ ซึ่งสอดคล้องกับ ความถี่กลางของช่องสัญญาณย่อยๆ โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นนี้เป็นแบบขนานกันช่องสัญญาณย่อยแต่ละช่องนี้ จะทำการผสมสัญญาณโดยใช้วิธีการแบบ QAM และสามารถนำพาข้อมูล 0-15 บิต ต่อ 1 สัญญาลักษณ์ ต่อ 1 Hz โดยจำนวนของบิตที่สามารถขนส่งได้อย่างแท้จริง ขึ้นอยู่กับลักษณะพิเศษของสายสัญญาณ และบางช่องสัญญาณย่อยอาจสามารถถูกละทิ้ง หากมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นจากภายนอก ตัวอย่างเช่นสถานีวิทยุ AM อาจสร้างสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นที่บางช่องสัญญาณย่อย ทำให้ใช้งานไม่ได้ เป็นต้น (ดูรูปที่ 12)
รูปที่ 12 แสดงขนาด Bandwidth โดยทฤษฎีสำหรับ DMT เมื่อ ทำงานที่ Upstream คือ 25 ช่องสัญญาณ คูณด้วย 15

บิต ต่อ 1 สัญญาลักษณ์ ต่อ 1 Hz ต่อ 1 ช่องสัญญาณ คูณด้วย 4KHz = 1.5 Mbpsขนาด Bandwidth ในทางทฤษฎีสำหรับ Downstream คือ 249 ช่องสัญญาณคูณด้วย 15 บิต ต่อหนึ่งสัญญาลักษณ์ ต่อหนึ่ง Hz ต่อ 1 ช่องสัญญาณคูณด้วย 4
ข้อดีของการใช้ Line Code แบบ DMT ได้แก่• การวิวัฒนาการมาจาก เทคโนโลยีของ Modem V.34 ซึ่งเทคโนโลยี Modem แบบนี้ มีข้อดีตรงที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เต็มที่ เนื่องจากสามารถพิชิตปัญหาสัญญาณรบกวน • DMT Modem ใช้ เทคนิคการผสมสัญญาณแบบ QAM สำหรับช่องสัญญาณย่อยที่มีอยู่ รวมทั้ง Echo Cancellation การใช้ Trellis Coding แบบทวีมิติ • ประสิทธิภาพ DMT สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ Modem เนื่องจาก ช่องสัญญาณย่อยๆต่างๆที่มีอยู่ สามารถจัดการกันเองได้โดยอิสระ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสายสัญญาณ DMT มีการตรวจวัด ค่า S/N Ratio ของแต่ละช่องสัญญาณย่อยเหล่านี้โดยอิสระ จากนั้นก็จะ มอบหมาย จำนวนของบิตข้อมูลให้กับช่องสัญญาณย่อยๆที่เห็นว่าขณะนั้น มีสัญญาณรบกวนน้อย โดยช่องที่มีสัญญาณรบกวนน้อยที่สุด จะได้บิตข้อมูลเพื่อใช้ในการส่งมากที่สุดการใช้งาน CAP และ DMT แม้ว่าวิธีการเข้ารหัสทั้งสองแบบต่างก็มีข้อดีด้วยกันทั้งคู่ก็จริง แต่ความสำเร็จหรือล้มเหลวของหลักการทั้งสอง อยู่ที่การนำไปใช้งานจริง ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลวดังกล่าว อยู่ที่ ขนาดและจำนวนของประชากรผู้ใช้ รวมทั้งระยะทางและ Bandwidth เลขที่สวยหรู(ที่เป็นไปได้) คือความเร็ว Downstream ขนาด 8 Mbps โดยมี 1 Mbps เป็น Upstream ซึ่งเป็นอัตราความเร็วสูงสุด ขณะที่ ผู้ให้บริการ ADSL ในปัจจุบัน สามารถให้บริการที่ความ เร็วตั้งแต่ 128 Kbps ไปจนถึง 7 Mbps ต่อไปนี้ เป็นตารางเปรียบเทียบ การทำงานของ CAP และ DMT รวมทั้ง G.lite
การติดตั้ง ADSL สามารถใช้ได้เฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ CO ที่ติดตั้งระบบที่เรียกว่า DSLAM (Digital Subscriber Line Access Multipkeser)แล้วเท่านั้นและ CO นั้นก็คงจะมีเฉพาะตัวเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น
ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ - ต้องมีพีซี - การ์ดเน็ตเวิร์กอินเตอร์เฟซ NIC - สายโทรศัพท์ - โมเดม DSL
ปัญหาและข้อระวัง 1. ไม่ใช่ทุกบริษัทที่รับประกันว่าให้บริการตลอดเวลา 2. ปัญหาสัญญาณอาจจะเกิดขึ้นได้เพราะหากมีผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตพร้อมกันความล่าช้าก็อาจจะมีเกิดขึ้นของ สัญญาณได้ 3. โมเดม DSL บางตัวอาจไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดการรบกวน จากพลังงานจากเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวอื่นได้ ดังนั้นไม่ ควรใช้สายไฟฟ้าร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ